วัดทองทั่ว

วันที่เผยแพร่ : 12/11/2021



วัดทองทั่ว

 

E


กรมการศาสนา ออกหนังสือรับรองสภาพวัดว่า ได้ตั้งวัดขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๓๑๐และ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๘ อยู่ในสมัยกรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร และศิลปะโครงสร้างเดิมก็เป็นที่นิยมในสมัยอยุธยาแต่ในปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงต่อเติม เท่าที่ทราบตามประวัติเจ้าอาวาสทุกองค์ที่เคยปกครองวัด มีการบูรณะซ่อมแซมทุกเจ้าอาวาสที่ปกครองวัด ศิลปะเดิมก็เลือนหายไป ศิลปะใหม่ก็ถูกสร้างไปตามความนิยมในยุคสมัยนั้น จนเป็นที่เห็นในปัจจุบัน และเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๒ เจ้าอาวาสพระครูสุวัตถิ์ธรรมวิจิตรท่านได้บูรณะหลังคา ทาสี เปลี่ยนหน้าบันที่เคยมีรูปเขียนก็หายไป ไม้เครื่องบนก็เปลี่ยนเป็นบางตัว กระเบื้องมุงหลังคาเปลี่ยนใหม่โดยการนำกระเบื้องเก่าไปทำแบบใหม่ให้เหมือนของเดิม บางส่วนยังคงอนุรักษ์ของเดิมไว้ สรุปแล้วมีการเปลี่ยนแปลงทุกเจ้าอาวาส   เป็นดังที่เห็นในปัจจุบันนี้

f

 

หลวงพ่อทอง

       เป็นพระพุทธรูปที่มีอายุเก่าแก่ คู่มาเดิมกับพระอุโบสถ ตามหลักฐานที่สร้างวัดในระหว่างพ.ศ.2310 ถึง พ.ศ.2318 ไม่ทราบแน่ชัดว่าสร้างในพ.ศ.ใด ต้องอยู่ในระหว่าง 8 ปีนี้ เพราะต้องสร้างพระอุโบสถเรียบร้อยแล้วจึงจะขอพระราชทานวิสุงคามสีมาได้ตามคำบอกเล่าของอดีตเจ้าอาวาสและคนเก่าแก่ รวมทั้งการบันทึกค่าใช้จ่ายในการบูรณะปฏิสังขรณ์สมัย พระครูโสภณสมณวัตร (ท่านพ่อฟู โสรโต)เมื่อ ปี พ.ศ.2471เมื่อออกพรรษาแล้วได้กึ่งเดือนกรานต์กฐินแล้วเสร็จ(ทอดกฐินแล้ว) พระยามานิตกุลพัทธ ได้บริจาคเงิน 325 บาท และพระพิสิษฐสมุทร ได้บริจาคเงิน 119 บาท กับเจ้าอาวาสคือ พระอธิการฟู โสรโต พร้อมด้วยทายกทายิกาชาววัดทองทั่วได้บูรณะอุโบสถพร้อมพระประธานซึ่งองค์พระประธานได้เอียงทรุดไปทางด้านซ้ายมือขององค์พระประธาน จึงได้เกณฑ์ชาวบ้านช่วยกันดีดแล้วค้ำยันองค์พระให้ตั้งตรง เมื่อดีดองค์ขึ้นตรงแล้วส่วนฐานพระประธานปูนและอิฐหลุดกะเทาะตรงด้านหน้าฐานพระเรียกว่าผ้าทิพย์ ได้พบโกศงาช้างกลึงสวยงาม ภายในโกศมีกระดูก 2 ชิ้น มีผ้าดิ้นลายทองพื้นสีออกม่วงห่อ แต่ไม่ทราบว่าห่อกระดูกหรือห่อโกศไว้  (ในปัจจุบันที่เห็นคือห่อกระดูกไว้)ผ้าผืนนี้เปื่อยยุ่ยมากแล้วแต่ยังพอเห็นลายทองยกเป็นรูปดอกไม้ และได้พบแผ่นทองคำรูปใบโพธิได้เขียนจารึกเป็นตัวหนังสือไว้ว่า“ พระอัฐิ พระเจ้าตาก พระยาจันทบุรีเป็นผู้นำมาไว้ ” ที่ลงว่าพระยาจันทบุรีเป็นผู้นำมาไว้ ก็ยังไม่สามารถสืบรู้ได้ว่าพระยาจันทบุรีผู้นี้คือใครและนำมาไว้เมื่อไร สันนิษฐานแล้วคงจะนำมาไว้เมื่อสมัยรัชกาลที่ 1 เมื่อถวายพระเพลิงศพเรียบร้อย (แต่ทำไมต้องนำมาไว้ที่วัดทองทั่วนี้ด้วยยังเป็นข้อสงสัยที่ยังรอความกระจ่าง) แล้วยังได้พบพระยอดธงเนื้อทองคำ เนื้อนาก เนื้อเงิน และเนื้อชินเป็นจำนวนมากได้ทราบว่าพระยามานิตกุลพัทธ และพระพิสิษฐสมุทร ได้นำพระยอดธงไปส่วนหนึ่ง  ในการบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งนั้นยังมีหลักฐานชัดเจนอยู่ด้านหลังพระประธานได้จารึกลงแผ่นปูนไว้ว่าปฏิสังขรเมื่อพ.ศ.๒๔๗ พระอธิการฟู ผู้จัดการ หมดเงินพันสิบบาททั้งฉลองด้วย และพระยามานิตกุลพัทธได้สร้างเหรียญรูปพระประธานอุโบสถ พระพุทธสุวรรณมงคล(หลวงพ่อทอง) แจกเป็นที่ระลึกในงานฉลองด้วย อดีตเจ้าอาวาสพระครูสุวัตถิ์ธรรมวิจิตร และคนเก่าแก่เล่าว่า ต่อมาภายหลังแผ่นทองคำและพระยอดธงทองคำ ทั้งสมบัติอันมีค่าของวัดหลายอย่าง รวมทั้งเงินและทองคำของชาวบ้านที่นำมาฝากไว้กับท่านพ่อฟู ทองคำของชาวบ้านหลายคนรวมแล้วท่านว่าหนักประมาณ 40 กว่าบาท ได้ถูกโจรกรรมไปจนหมดสิ้น เล่าว่าท่านพ่อฟูท่านถึงกับคิดจะสึกเพื่อหาเงินทองมาใช้คืนชาวบ้าน แต่ชาวบ้านขอนิมนต์ท่านไว้แล้วได้รวบรวมเสียสละกันคนละเล็กละน้อยใช้คืนแทนท่านพ่อ เมื่อหลักฐานชิ้นสำคัญหายไปก็ไม่ได้มีการเปิดเผย นอกจากคนเก่าแก่ของวัดเท่านั้นที่รู้เรื่อง แต่ในปัจจุบันก็แทบไม่มีใครรู้จริง เพียงแต่เล่าว่าได้ฟังมาจากอดีตเจ้าอาวาสบ้าง ได้ฟังมาจากพ่อแม่ ปู่ย่า ตายายบ้างเท่านั้น

ใบสีมา

ใบสีมาเป็นหลักเขตแดนที่พระเจ้าแผ่นดินได้พระราชทานที่ถวายให้เป็นของสงฆ์ สำหรับให้พระสงฆ์ได้ทำสังฆกรรม เช่นลงอุโบสถฟังพระปาฏิโมกข์ อุปสมบท กรานกฐิน ตามหลักของพระธรรมวินัย ใบสีมารอบพระอุโบสถวัดทองทั่วเป็นใบสีมาคู่สันนิษฐานว่า พระมหากษัตริย์ต้องมีพระราชศรัทธาสร้าง หรือมีพระประสงค์สั่งให้สร้างหรือบูรณะ หรือไม่ก็เจ้าเมืองจันทบุรีในสมัยนั้นสร้าง แล้วขอพระราชทานเป็นพระอารามหลวง วัดนั้นจึงจะตั้งใบสีมาคู่ได้ ในจันทบุรีมีอยู่ 2 วัด คือ วัดทองทั่ว และวัดกลาง ที่มีประวัติการสร้างมานาน ตามลักษณะใบสีมาจัดอยู่ในสมัยนิยมอยุธยา มีรูปเทวดาถือดอกบัว 2 ดอก แยกออกซ้ายขวา ผู้รู้บางท่านกล่าวว่าเป็นศิลปะศรีวิชัย บางท่านว่าในสมัยอยุธยาก็มีที่เป็นศิลปะแบบนี้อาจจะทำเลียนศิลปะศรีวิชัยก็ได้

ตู้พระไตรปิฎก

ตู้พระไตรปิฎกลายรดน้ำปิดทอง ( ตู้ไทยโบราณ หรือ ตู้ลายรดน้ำ) มีลักษณะของไทยโบราณทรงสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ เรียกว่า “ ตู้พระไตรปิฎกหรือตู้พระธรรม” มีชั้นวางหนังสือได้ ชั้น สำหรับเก็บรักษาพระไตรปิฎก ซึ่งเป็นคัมภีร์สำคัญหลักในทางพระพุทธศาสนา ตู้หลังนี้เป็นโบราณวัตถุที่มีคุณค่าทางจิตใจ บ่งบอกถึงความเก่าแก่และความเจริญของวัดมานาน       เป็นตู้ลายรดน้ำลายกนกเปลวเพลิง รูปที่ใช้เขียนบานประตูเป็นรูปเทวดาทั้ง บาน เปรียบเสมือนเป็นผู้รักษา ด้านข้างทั้งสองเป็นลานกนกเปลวเพลิงเช่นกันแต่เป็นภาพเล่าเรื่องรามเกียรติ์และสัตว์ป่าหิมพานต์ เป็นฝีมือช่างชั้นครูในสมัยกรุงธนบุรี มีอายุราว 200 กว่าปี บานประตูได้หายไปหนึ่งบาน จึงไม่สมบูรณ์

หีบคัมภีร์

หีบคัมภีร์ขนาดใหญ่ ใช้เป็นที่เก็บรักษาคัมภีร์และหนังสือที่สำคัญต่างๆ   เพื่อป้องกันแมลงกัดกินคัมภีร์และหนังสือ มีรูปลักษณะสี่เหลี่ยมคางหมู ลักษณะสอบลงปากกว้าง มีฐานตั้งในตัว มีฝาหีบปิดสวยงามแกะสลักลวดลาย เป็นไม้แกะสลักลวดลายสวยงามทั้งใบ แกะลวดลายกนกใบเถาวัลย์ดอกพุดตาล ออกเป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ และมีลายเทพพนม เป็นฝีมือช่างสมัยอยุธยา มีความเก่าแก่กว่าตู้พระธรรมลายทอง มีอายุราว 300 ปี ส่วนฝาปิดด้านบนหายไป และส่วนฐานด้านล่างได้ถูกปลวกกัดกินทั้งหมด จึงไม่สมบูรณ์
 

E

 

หีบพระธรรม

เป็นหีบสำหรับใส่หนังสือพระอภิธรรมและพระมาลัยภายในเล่มเดียวกัน  เวลามีงานศพนำไปตั้งบูชาตอนพระสงฆ์สวดเรียกว่า พระสวดพระอภิธรรม เมื่อพระสงฆ์สวดพระอภิธรรมเสร็จแล้ว ชาวบ้านที่จะอยู่เป็นเพื่อนเจ้าภาพหรืออยู่เป็นเพื่อนศพ ก็จะนำหนังสือเล่มนี้มาสวดกันเรียกว่าสวดพระมาลัยในเนื้อเรื่องจะกล่าวถึงมนุษย์เมื่อยังมีชีวิตอยู่ได้ทำบาปทำกรรมต่างๆเมื่อตายไปก็จะต้องไปเสวยผลบาปกรมที่ทำไว้ได้รับทุกขเวทนาต่างๆ ในหนังสือพระมาลัยท่านจะกล่าวไว้อย่างละเอียด เพื่อผู้ที่ฟังแล้วจะได้เกิดความสลดสังเวชไม่กล้าทำความชั่วต่างๆ ส่วนผู้ที่ทำความดีไว้ก็จะได้รับผลคือความสุขเรียกว่ามีสวรรค์เป็นวิมานทองที่อยู่ที่อาศัยตามบุญกุศลที่ได้ทำไว้เมื่อยังมีชีวิต แต่จะสวดเป็นภาษาไทยร้อยกรอง เป็นทำนองที่ไพเราะ ในแต่ละตอนก็จะขึ้นเสียงที่แตกต่างกัน หีบพระธรรมนี้เป็นฝีมือระดับช่างชั้นครูในยุคตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ใบหนึ่งเป็นลายรดน้ำปิดทองกนกเปลวเพลิง มีรูปเทวดา องค์    อีกใบเป็นรูปเล่าเรื่องรามเกียรติ์เป็นลายรดน้ำปิดทอง ทั้ง ใบ อายุราว 200 ปี

ลำดับเจ้าอาวาสปกครองวัดทองทั่ว

๑.ระอุปัชฌาย์จี๊ด จนฺทสาโร   เป็นรองเจ้าคณะแขวง ปกครอง ๑๐ วัดตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๙๖ ถึง พ.ศ. ๒๔๔๒  รวม ๔๖ ปี

๒.พระครูสังฆวิชิต (ฉัตร สุวิชาโน) เป็นเจ้าคณะหมวด (เจ้าคณะตำบล) ปกครอง ๑๐ วัด ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๔๓
ถึง พ.ศ. ๒๔๕๙   รวม ๑๖ ปี

๓.พระชื้นอคฺคจิตฺโต ตั้งแต่พ.ศ.๒๔๕๙ ถึง พ.ศ. ๒๔๖๑   รวม ๒ ปี

๔.พระชื่น สํวโร ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๑ ถึง พ.ศ. ๒๔๖๔    รวม ๓ ปี

๕.พระครูโสภณสมณวัตร (ท่านพ่อฟูโสรโต) เป็นเจ้าคณะตำบลปกครอง๗วัดตั้งแต่  พ.ศ. ๒๔๖๕
ถึง พ.ศ. ๒๕๐๓   รวม ๓๘ ปี

๖.พระอธิการหรีดจนฺทูปโมตั้งแต่พ.ศ. ๒๕๐๓ถึงพ.ศ. ๒๕๐๖   รวม ๓ ปี

๗.พระครูสุวัตถิ์ธรรมวิจิตร (ท่านพ่อสวัสดิ์จตฺตาลโย) เป็นเจ้าคณะตำบลปกครอง ๕ วัดตั้งแต่พ.ศ. ๒๕๐๗
ถึง พ.ศ. ๒๕๔๖   รวม ๓๙ ปี

๘.พระครูจารุเขมากร (ถาวรถาวโรสังวราภรณ์) เป็นเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน