พิพิธภัณฑ์โบราณสถานเมืองเพนียด

พิพิธภัณฑ์โบราณสถานเมืองเพนียด

พิพิธภัณฑ์โบราณสถานเมืองเพนียด

เมืองโบราณเพนียดตั้งอยู่บนที่ลาดเชิงเขาสระบาปทางด้านทิศตะวันตก อาณาเขตครอบคลุม หมู่บ้านเพนียด หมู่บ้านสระบาป ตำบลคลองนารายณ์ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี สภาพพื้นที่เป็นที่ลาดเทไปสู่ที่ราบลุ่มต่ำริมลำน้ำจันทบุรี โดยมีลำน้ำคลองนารายณ์ และคลองสระบาป ไหลลงมาจากเขาสระบาป ลงไปเชื่อมกับแม่น้ำจันทบุรี เส้นทางน้ำเหล่านี้คงจะเป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญในอดีตอีกทั้งยังสร้างความอุดมสมบูรณ์ในการเพาะปลูกทำให้เกิดสภาพที่เหมาะสมอย่างมากในการตั้งชุมชนซึ่งน่าจะเป็นชุมชนขนาดใหญ่ สันนิษฐานจากขนาดของเมืองโบราณ และปริมาณวัตถุที่พบจำนวนมาก และหลายยุคสมัย

 เมืองโบราณเพนียดมีผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้างประมาณ 1,000 เมตร ยาวประมาณ 2,000 เมตร แนวกำแพงเมืองโบราณและคูน้ำเกือบทั้งหมดในปัจจุบันถูกเกลี่ยลงจนไม่สามารถสังเกตได้ เท่าที่หลงเหลืออยู่ เป็นแนวคันดินด้านทิศใต้ของเมือง มีความสูงราว 3เมตร มีความยาวราว 50 เมตร ส่วนแนวกำแพงเมืองด้านทิศเหนือเดิมถูกถนนสุขุมวิทตัดผ่านบางส่วน พื้นที่ภายในเมืองโบราณปัจจุบันเป็นบ้านเรือนและพื้นที่เกษตรกรรม โดยด้านทิศตะวันออกของเมืองพื้นที่ส่วนใหญ่มีการขุดยกร่องเพื่อทำสวนผลไม้ ส่วนที่ลุ่มบริเวณด้านทิศตะวันตกเป็นพื้นที่ทำนา โดยถัดจากแนวกำแพงเมืองด้านทิศตะวันตกออกมาจะเป็นที่ลุ่มต่ำมากเช่นบริเวณบ้านศาลาแดง ในหน้าน้ำจะมีน้ำท่วมขังเป็นบริเวณกว้าง

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์จันทบุรี กับวัฒนธรรมเขมร

เมืองจันทบุรีพบหลักฐานทางโบราณคดีตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่พบบริเวณพื้นที่ทางตอนเหนือ แหล่งโบราณคดีส่วนใหญ่ตั้งอยู่บนเนินดินริมลำน้ำที่ไหลเลาะตามที่ราบลอนลูกคลื่นระหว่างทิวเขาและในถ้ำ พบเครื่องมือขวานหินขัด กำไลหิน หินลับ หินบด เครื่องปั้นดินเผา บนพื้นที่เนินดินขนาดใหญ่ หลักฐานที่คล้ายคลึงกันนี้พบกระจายตัวไปยังเขตอำเภอโป่งน้ำร้อน นอกจากนี้ยังพบหลักฐานที่คล้ายคลึงกันในเขตประเทศกัมพูชาเขต จังหวัดไพลิน และพระตะบอง เนื่องจากเป็นพื้นที่ติดต่อกันมีสภาพภูมิประเทศเหมือนกัน แสดงให้เห็นการติดต่อสัมพันธ์กันของชุมชนบริเวณนี้ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์

ชุมชนเหล่านี้น่าจะเป็นกลุ่มชนที่จะมีพัฒนาการทางวัฒนธรรมไปสู่วัฒนธรรมเขมรสมัยก่อนสร้างเมืองพระนครเนื่องจากพบหลักฐานกระจายตัว บริเวณจังหวัดสระแก้ว ที่ปราสาทเขาน้อย พบทั้งจารึกและทับหลัง ปราสาทเขาโล้น จารึกพบที่เขารัง จารึกช่องสระแจงที่กำหนดอายุในพุทธศตวรรษที่ 12 ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับจารึกปากน้ำมูล จารึกวัดสุปัฏนาราม จารึกลำโดมน้อย ในภาคอีสานข้อความในจารึกมีความสัมพันธ์กันในเนื้อหาที่กล่าวถึงเจ้าชายจิตรเสนหรือมเหนทรวรมัน พระเจ้าภววรมัน พระเจ้าอีศานวรมัน ที่แผ่ขยายอิทธิพลเหนือเมืองต่างๆผ่านเรื่องราวของการสงคราม และ การสนับสนุนด้านการศาสนา หลักฐานทั้งลายลักษณ์อักษรและรูปแบบศิลปกรรมเหล่านี้แสดงถึงการมีวัฒนธรรมร่วมกันของเมืองโบราณบริเวณภาคอีสาน บริเวณตอนใต้ของลาว และบริเวณภาคตะวันออกของไทย ในช่วงสมัยก่อนสร้างเมืองพระนครราวพุทธศตวรรษที่ 11 – 14 ซึ่งในเอกสารจีนเรียกว่าเจนละ เมืองจันทบุรีในสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์จัดว่าเป็นเมืองที่มีความสำคัญมากเมืองหนึ่งเพราะในช่วงเวลาก่อนพุทธศตวรรษที่ 12 ซึ่งเป็นช่วงเวลาเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ของดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เราพบหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร ที่กล่าวถึงเมืองบริเวณที่เป็นจันทบุรีปัจจุบัน รวมไปถึงศิลปกรรมที่จะนำมาสนับสนุนความมีอยู่และความสำคัญของเมืองจันทบุรีโบราณ หลักฐานที่พบล้วนเป็นหลักฐานร่วมสมัยหรือหลักฐานขั้นปฐมภูมิ คือเกิดในช่วงเวลาเดียวกันหรือห่างออกมาจากเหตุการณ์ไม่นานนัก และเพิ่มความหนักแน่นด้วยศิลปกรรมที่พบล้วนสามารถกำหนดอายุสมัยของรูปแบบลวดลายสอดคล้องกับการกำหนดอายุหลักฐานประเภทลายลักษณ์อักษร

พิพิธภัณฑ์โบราณสถานเมืองเพนียด

พิพิธภัณฑ์โบราณสถานเมืองเพนียด

พิพิธภัณฑ์โบราณสถานเมืองเพนียด

พิพิธภัณฑ์โบราณสถานเมืองเพนียด

พิพิธภัณฑ์โบราณสถานเมืองเพนียด

พิพิธภัณฑ์โบราณสถานเมืองเพนียด

พิพิธภัณฑ์โบราณสถานเมืองเพนียด

พิพิธภัณฑ์โบราณสถานเมืองเพนียด

พิพิธภัณฑ์โบราณสถานเมืองเพนียด

พิพิธภัณฑ์โบราณสถานเมืองเพนียด

พิพิธภัณฑ์โบราณสถานเมืองเพนียด

พิพิธภัณฑ์โบราณสถานเมืองเพนียด

 

facebook line
เทศบาลตำบลพลับพลานารายณ์

9 หมู่ 14 ตำบลคลองนารายณ์ อำเภอเมืองจันทบุรี จันทบุรี 22000